top of page

โดนฟ้องยึดทรัพย์ แต่..ไม่มีทรัพย์ให้ยึด ทำอย่างไร?

อัปเดตเมื่อ 18 ก.ย.



ทำอย่างไรดี? หากเมื่อคุณถูกฟ้องร้องให้ชำระหนี้และศาลมีคำสั่งให้ยึดทรัพย์ แต่..คุณไม่มีทรัพย์สินให้ยึดเลย สถานการณ์นี้อาจทำให้คุณรู้สึกกังวลและสิ้นหวัง อย่างไรก็ตามยังมีขั้นตอนที่จัดการกับสถานการณ์นี้ได้


1. อย่าเพิกเฉยต่อคำสั่งศาล

การละเลยคำสั่งศาลอาจนำไปสู่ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ซึ่งมีโทษทั้งปรับและจำคุก


2. พิจารณาขอความช่วยเหลือทางกฎหมาย

ติดต่อสภาทนายความ หรือศูนย์ให้คำปรึกษาทางกฎหมายในพื้นที่


3. เข้าเจรจากับเจ้าหนี้

การเจรจาอาจนำไปสู่การประนอมหนี้ ด้วยกฎหมายแพ่ง สามารถพูดคุยเจรจาหาทางออกกันได้


4. อาจโดนพิจารณาการล้มละลายส่วนบุคค

ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย การยื่นล้มละลายอาจช่วยให้คุณได้รับการปลดจากหนี้สินบางส่วน หรือทั้งหมด แต่..เงื่อนไขนี้อาจจะต้องสูญเสียการดูแลทรัพย์สิน


5. เร่งหารายได้เพิ่ม และจัดทำแผนการชำระหนี้

แผนการชำระหนี้ที่นำเสนอต่อศาลอาจนำไปสู่การพิจารณาผ่อนผันการบังคับคดีตามมาตรา 271 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้


6. รักษาการสื่อสารที่ดี

การรักษาการสื่อสารที่ดีกับเจ้าหนี้ และศาลแสดงถึงความสุจริตใจ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในการพิจารณาของศาล


ไม่มีทรัพย์ให้ยึด จะโดนอายัดเงินเดือนไหม?


หากคุณมีเงินเดือนประจำ เจ้าหนี้สามารถร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอายัดเงินเดือนของคุณได้ แต่..มีข้อจำกัดดังนี้


  1. หากลูกหนี้เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง หรือเป็นพนักงานบริษัททั่วไป จะถูกอายัดเงินเดือนค่าจ้าง เบี้ยขยัน ค่าล่วงเวลา ก่อนหักภาษีและประกันสังคม แต่..หากเงินเดือนไม่ถึง 20,000 บาท อายัดไม่ได้ ส่วนลูกหนี้ที่เงินเดือนเกิน 20,000 บาท เจ้าหนี้สามารถร้องขออายัดส่วนที่เกิน 20,000 บาทได้ แต่..จะต้องเหลือไม่ต่ำกว่า 20,000 บาท

  2. ค่าล่วงเวลา หรือโอที เงินเบี้ยขยัน ค่าคอมมิชชั่น ถูกอายัดได้ไม่เกิน 30%

  3. เงินโบนัส ถูกอายัดได้ไม่เกิน 50%

  4. เงินตอบแทนกรณีออกจากงาน ถูกอายัดได้ 100%

  5. เงินค่าคอมมิชชั่น ถูกอายัดได้ 30%

  6. เงินค่าตอบแทนต่างๆ / ค่าสวัสดิการต่างๆ เช่น ค่าน้ำมัน ค่าที่พัก ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าตำแหน่ง ค่าเช่าบ้าน ค่าเช่าทรัพย์สิน เป็นต้น ถูกอายัดได้ 100%

  7. บัญชีเงินฝากธนาคาร ถูกอายัดได้ 100%

  8. เงินสหกรณ์ ถูกอายัดได้ 100%

  9. ร่วมทุนกับผู้อื่นเปิดบริษัท หากผู้ร่วมลงทุนมีปัญหาถูกอายัดทรัพย์ ถูกอายัดได้เฉพาะส่วนที่เป็นทรัพย์สินของผู้ถูกอายัดเท่านั้น

  10. หุ้น ถูกอายัดได้ทั้งหมดเช่นกัน


*ข้อควรระวัง


  1. อย่าโอนทรัพย์สินหลบเลี่ยงการบังคับคดี เพราะการโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับคดี อาจถือเป็นการฉ้อฉลเจ้าหนี้ และมีความผิดตามกฎหมาย


  2. อย่าการให้ข้อมูลเท็จ เพราะการให้ข้อมูลเท็จต่อศาล หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีอาจมีความผิดทางอาญา


แม้ว่าการถูกฟ้องยึดทรัพย์โดยไม่มีทรัพย์สิน หรือการเผชิญกับการอายัดเงินเดือนจะเป็นสถานการณ์ที่ยากลำบาก


แต่..ยังมีทางออกทางกฎหมาย การดำเนินการอย่างรอบคอบ ซื่อสัตย์ และมีความรับผิดชอบ ภายใต้กรอบของกฎหมาย จะช่วยให้คุณผ่านพ้นสถานการณ์นี้ไปได้


ที่สำคัญอย่าลืมว่าการขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย จะช่วยให้คุณเข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตนเองได้ดียิ่งขึ้น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comments


bottom of page