ใจเย็นก่อน...โดนยึดทรัพย์ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด !!

จากถามทุกข์ตอบสุข special วันที่ 25 เมษายน 2565 ตอนที่ 2 “รู้กฎหมาย ไร้ปัญหาหนี้” หัวข้อ ทำอย่างไรดีเจ้าหนี้จะมายึดทรัพย์ ที่มีแขกรับเชิญสุดพิเศษอย่าง คุณศุภสิน เจียรพาณิชย์พงศ์ และ คุณฉัตรมงคล แนบเนียน ทนายอาสาโครงการให้ความช่วยเหลือประชาชนในการแก้ไขปัญหาหนี้สิน มาช่วยให้ความรู้และไขกระจ่างในเรื่องนี้
.
ถ้าพูดถึงการโดนยึดทรัพย์สิน หรือ อายัติเงินเดือน ฟังดูแล้วอาจจะดูน่ากลัว...แต่ใจเย็นก่อน การยึดทรัพย์ไม่ได้แปลว่าเราจะต้องสูญเสียทุกอย่างไป เพราะการดำเนินการมีทั้ง ขั้นตอน ระยะเวลาและความคุ้มครองภายใต้กรอบของกฎหมาย โดยที่โนบูโรได้สรุปมาไว้ให้สำหรับลูกหนี้ทุกคนแล้ว
.
1.ขั้นตอนการยึดทรัพย์
.
ขั้นตอนการยึดทรัพย์ไม่ใช่เรื่องง่ายที่อยู่ดีๆเจ้าหนี้จะมาเอาของของเราไปได้เลย ทุกอย่างมีขั้นมีตอนและที่สำคัญบ้านเมืองนี้มีกฎหมายนะ
.
🙋🏻♂️ แล้วเจ้าหนี้ทำยังไงถึงจะยึดทรัพย์ได้ ?
.
ก่อนจะถึงขั้นตอนการยึดทรั
พย์สินต้องมีการไกล่เกลี่ยและเจรจากันก่อนแล้ว ถ้าศาลพิพากษาแล้วลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตาม เจ้าหนี้เองก็ต้องไปที่กรมบังคับคดีความเพื่อให้เจ้าหน้าที่ออกหมายยึดทรัพย์สิน รวมถึงตรวจสอบว่าเรามีทรัพย์สินอะไรบ้าง
.
🙋🏻♂️แล้วระยะเวลาล่ะ เราจะรู้ได้ยังไงว่าจะมายึดทรัพย์ตอนไหน ?
.
ระยะเวลาขึ้นอยู่กับการส่งฟ้องของเจ้าหนี้ ในแต่ละอายุคดีความ
.
2.การยึดทรัพย์สิน
.
ทรัพย์สินที่เจ้าหนี้จะยึด พูดให้
เข้าใจง่ายๆต้องเป็นของที่มีราคา เพราะการยึดทรัพย์นั้นมีค่าใช้จ่าย ตั้งแต่ยึดถึงขั้นตอนการดูแลรักษาระหว่างที่จะขาย คนที่เป็นเจ้าหนี้ก็ต้องเลือกยึดทรัพย์สินที่มีราคาและขายได้
.
🙋🏻♂️อะไรบ้างที่ยึดได้ ?
.
-ของมีค่า
-สินทรัพย์ทางการเงิน เช่น เงินฝาก หุ้น กองทุน
-รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ (ที่เป็นชื่อเรา)
📍กรณีของรถต้องเข้าใจก่อนว่า ไฟแนนซ์ กับ จำนำทะเบียนไม่เหมือนกัน การจำนำทะเบียนหมายความว่าเรายังเป็นเจ้าของรถ เจ้าหนี้จะยึดก็ต้องให้ศาลพิพากษา แต่ไฟแนนซ์ถ้าจ่ายไม่ไหว เท่ากับว่าต้องโดนยึดคืน และต้องดูความคุ้มค่าด้วย ถ้าจะเก็บ จะขาย ต้องคุยกับเจ้าหนี้ อย่าแอบขายเพราะจะเรียกว่า ยักยอกทรัพย์ กลายเป็นคดีอาญา และที่สำคัญต้องดูด้วยว่าคนที่จะมายึดรถใช่เจ้าหนี้ของเราจริงๆไหม
-บ้าน ที่ดิน (ที่เป็นชื่อเรา ถึงผ่อนอยู่โดนก็ยึดได้)
-เงินเดือนที่เกิน 20,000 บาท
.
🙋🏻♂️ อะไรบ้างที่ยึดไม่ได้ ?
.
-ของใช้ส่วนตัว
-เครื่องใช้ในครัวเรือน
-เครื่องนุ่งห่ม
📍ของเหล่านี้ยึดไม่ได้หากมีราคาไม่เกิน 20,000 บาท
-เครื่องมือประกอบอาชีพ ไม่เกิน 100,000 บาท
-เครื่องมือที่ใช้ช่วยหรือแทนอวัยวะ เช่น แขนเทียม ขาเทียม
-ทรัพย์สินที่กฎหมายกำหนดว่ายึดไม่ได้
.
🙋🏻♂️ แล้วถ้าไม่อย
ากให้เขายึดต้องทำไง?
.
เราสามารถแถลงขอวงเงินในการยึดทรัพย์สินได้ เช่น ขอขยายวงเงินทรัพย์สินส่วนที่จะยึดเป็น 30,000
.
3.เงินเดือน
.
ในส่วนของเงินเดือนที่เกิน 20,000 บาท จะมีการส่งหมายแจ้งไปยังลูกหนี้และนายจ้างของลูกหนี้ให้นายจ้างเป็นค
นนำส่งเงินเดือนให้กับเจ้าหนี้ ถ้านายจ้างทำไม่ได้ก็ต้องเป็นคนใช้หนี้แทนเอง
.
การอายัติเงินเดือนส่วนที่เกินจาก 20,000 บาทหากลูกหนี้ต้องการที่จะปิดบัญชีสามารถแถลงและคุยกับเจ้าหนี้ได้ว่าต้องการจะปิดบัญชีเพราะอะไร มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ สามารถให้เจ้าหนี้อายัติได้แค่ไหน หรือมีทรัพย์สินที่สามารถเป็นหลักประกันแทนเงินเดือนให้เจ้าหนี้ยึดไปก่อน ทางเราขอแอบกระซิบว่าโดยทั่วไปแล้วการอายัติเงินเดือนจะมีความยุ่งยากและได้เงินช้ากว่าการยึดทรัพย์สิน เจ้าหนี้หลายคนอาจจะเลือกการยึดทรัพย์สินของมีค่ามากกว่า หากตกลงกับเจ้าหนี้ไม่ได้ก็ให้ส่งคำร้องไปที่ศาลเพื่อให้ศาลเป็นคนตัดสิน
.
🙋🏻♂️ เราจะไปคุยกับเจ้าหนี้ยังไง เรื่องขอลดการอายัติเงินเดือน ?
.
ในกรณีที่เราต้องการขอลดการอายัติเงินเดือนถ้าเป็นหนี้ทั่วไปก็ติดต่อไปหาเจ้าหนี้ได้เลย แต่ถ้าเป็นหนี้ธนาคารแนะนำว่าให้เข้าไปติดต่อเจ้าหน้าที่ในสาขามากกว่าการโทรหาคอลเซ็นเตอร์
.
4.กรณีลูกหนี้เสียชีวิต
.
ในกรณีที่ลูกหนี้เสียชีวิตไปแล้ว คำถามที่หลายคนสงสัยตามมาคือ
.
🙋🏻♂️ แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับทายาท ? ทายาทต้องมานั่งใช้หนี้แทนไหม?
.
ถ้าลูกหนี้เสียชีวิต การบังคับคดีจะไม่ให้ทายาทรับผิดชอบเกินทรัพย์มรดกที่ได้รับ เช่น ถ้าแม่เป็นหนี้แล้วเสียชีวิตแล้วมีการยกมรดกให้ลูกทรัพย์สินเหล่านั้
นที่เป็นของแม่อาจจะถูกเจ้าหนี้ยึด แต่ลูกไม่ต้องมาใช้หนี้แทนส่วนที่เหลือ หรือถ้าแม่ไม่ได้มีมรดกอะไรไว้ให้ลูกก็ไม่ต้องรับผิดชอบใช้หนี้เช่นกัน
.
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าการยึดทรัพย์หรืออายัติเงินเดือนทุกอย่างสามารถเจรจากับเจ้าหนี้ได้เพราะงั้นอย่าพึ่งตกใจเมื่อเห็นหมายอายัติเงินเดือนหรือหมายยึดทรัพย์สินแต่ทางที่ดีก็ควรไปเจรจาไกล่เกลี่ยในขั้นแรกอย่าให้เลยมาถึงขั้นนี้จะดีกว่าเพราะนอกจากจะเสียค่าใช้จ่ายและยังเสียเวลาอีกด้วย
.
แล
ะหากใครมีเรื่องเดือดร้อนใจ เกี่ยวกับปัญหาหนี้สิน หรือคดีความต่างๆที่นอกเหนือจากคดีความเกี่ยวกับครอบครัวก็สามารถเข้าไปปรึกษาได้ที่ศูนย์นิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ หรือ ส่งข้อความผ่านทางเพจเฟซบุ๊กของศูนย์ได้เลยนะคะ