top of page

10 สิ่งที่สวัสดิการการเงินไม่ควรมี (แต่มักจะมี)

อัปเดตเมื่อ 20 เม.ย. 2565

ส่วนหนึ่งของงาน HR ก็คือคอยคิดสวัสดิการที่ดีให้พนักงาน ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะตอบโจทย์ของพนักงานทุกคนได้ โดยเฉพาะสวัสดิการการเงิน


จากประสบการณ์ของโนบูโร เราพบ 10 ปัญหาของสวัสดิการทางการเงิน ที่ส่งผลเสียต่อทุกฝ่าย โดยเฉพาะ HR ดังนี้



1. มีขั้นตอนการดำเนินการที่ช้า - เพราะ HR มีงานอื่นถาโถมตลอดเวลา เดี๋ยวพนักงานเข้าใหม่ ลาออก ในกรณีที่พนักงานเกิดเหตุฉุกเฉินต้องการใช้เงินด่วน แต่กว่าจะได้ความช่วยเหลือนี้ นำไปสู่ทางเลือกอื่น อย่างหนี้นอกระบบเสียแล้ว

.

2. มีหลายขั้นตอน - ในกรณีของสวัสดิการให้กู้ เนื่องจาก HR เองก็ต้องการพิสูจน์ความต้องการและความจำเป็นในการรับสวัสดิการ จึงต้องมีขั้นตอนหลายขั้นตอนและมีความซับซ้อนของขั้นตอนต่างๆในการรับสวัสดิการ ตั้งแต่ยื่นเอกสาร สัมภาษณ์ พิจารณาอีกไม่รู้กี่ครั้ง อาจจะทำให้พนักงานเมินจากสวัสดิการของบริษัท ไปหาทางเลือกอื่นที่ดำเนินการง่ายกว่า

.

3. ต้องใช้เอกสารเยอะ - HR ต้องเก็บหลักฐานการขอกู้ทุกอย่างในการดำเนินการ ซึ่งก็ใช้เอกสารเยอะและอาจจะเกินความจำเป็นด้วย

.

4. มีวงเงินน้อย - ในกรณีของสวัสดิการให้กู้ วงเงินอาจจะขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ฐานเงินเดือน และอื่นๆ ซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการและความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินของพนักงาน

.

5. มีการเก็บข้อมูลที่ไม่ปลอดภัย จนเกิดการรั่วไหลของข้อมูล - แม้ว่า HR จะระวังมากเพียงใด แต่การที่จะต้องประสานงานร่วมกับหลายฝ่าย อาจจะทำให้ข้อมูลส่วนตัวของพนักงาน เกิดการรั่วไหลโดยไม่ได้ตั้งใจ อาทิเช่น ข้อมูลอ่อนไหวของพนักงาน ข้อมูลของครอบครัว และอื่นๆที่พนักงานอาจจะไม่สะดวกให้เพื่อนร่วมงานคนอื่นๆทราบ

.

6. มีการพิจารณาให้สวัสดิการแล้วแต่กรณี - เพราะส่วนใหญ่ HR จะเป็นคนพิจารณาเป็นลำดับแรก หากพนักงานรู้สึกว่าพบความไม่โปร่งใสในการดำเนินการ แม้จริงๆแล้ว ก็เป็นการดำเนินการไปตามขั้นตอน อาจจะนำไปสู่ความยัดแย้งได้ มีโอกาสที่ HR จะถูกกล่าวหาว่าลำเอียง

.

7. มีระยะเวลา เงื่อนไข ขั้นตอนที่ไม่ชัดเจน - เนื่องจากเป็นงานที่เพิ่มขึ้นจากงานหลักของ HR อาจจะเกิดความขัดแย้งในหมู่พนักงาน หากคนนึงได้รับสวัสดิการ แต่อีกคนไม่ได้รับ

.

8. มีการให้สวัสดิการเงินกู้ที่วงเงินสูงกว่าฐานเงินเดือนหลายเท่า - วงเงินที่สูงไปก็จะเสี่ยงเป็นกับดักหนี้สินให้กับพนักงาน

.

9. มีสัญญาเงินกู้ที่ผูกพันหลายปี - หากสวัสดิการทางการเงินมีสัญญาผูกมัด พนักงานจะต้องทำงานในบริษัทต่ออีกหลายปี ซึ่งวันนึงพนักงานเกิดอยากลาออก เปลี่ยนสายอาชีพ แต่ไม่สามารถทำได้ นั่นอาจจะส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลงด้วย

.

10. มีนโยบายให้นำเพื่อนร่วมงานมาค้ำประกันร่วมด้วย-ถ้าหากผู้กู้ลาออก ติดต่อไม่ได้ แน่นอนว่าภาระทั้งหมด จะตกไปอยู่ที่ผู้ค้ำ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มหนี้สินและความกังวลให้กับผู้ค้ำ และอาจจะมีความคิดที่อยากจะลาออกตามไปด้วย

.

เป็นยังไงกันบ้างคะ สำหรับ 10 สิ่งที่สวัสดิการการเงินไม่ควรมี(แต่มักจะมี) แค่อ่านก็ดูปวดหัวไม่น้อยเลย รู้แบบนี้แล้วเพื่อนๆที่เป็น HR ก็อย่าพึ่งท้อใจไป เพราะหากต้องการสวัสดิการทางการเงินที่ตอบโจทย์ ครบ จบ ในที่เดียว ก็สามารถสอบถามทางโนบูโรมาได้เลยค่ะ ทางเรายินดีให้ข้อมูลและให้คำปรึกษากับคุณเสมอ

.

ดู 38 ครั้ง

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด
bottom of page