top of page

บทความที่ 1: เราคุ้นเคยกับกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาพกาย…แล้วสุขภาพการเงินล่ะ?

สุขภาพการเงิน...พื้นที่ที่องค์กรไม่ค่อยถามถึง

องค์กรส่วนใหญ่ใส่ใจสุขภาพกายและใจของพนักงานเรามีตรวจสุขภาพประจำปี มีแพ็กเกจรักษาฟัน ตรวจเลือดบางแห่งมีกิจกรรมโยคะ ทำกายภาพ พบจิตแพทย์แต่มีไม่กี่ที่…ที่ถามว่า “ตอนนี้การเงินของคุณโอเคอยู่ไหม?”

ความเครียดทางการเงิน ไม่เคยอยู่ในผลตรวจเลือด

มันอาจซ่อนอยู่ในพฤติกรรมเล็ก ๆ เช่น การถอนหายใจเมื่อเปิดแอปธนาคารการหยิบของลดราคาแทนของที่เคยใช้หรือการปฏิเสธข้าวมื้อง่าย ๆ ด้วยคำว่า "เดือนนี้ช็อตมาก"

สุขภาพการเงินไม่ใช่แค่เรื่อง “มีเงินพอหรือไม่”แต่มันคือภาพสะท้อนว่าเขามี “พื้นที่ปลอดภัย” ในชีวิตไหมและคำถามที่สำคัญคือ...

"องค์กรของเรา เคยมีพื้นที่ที่จะรับฟังหรือยัง?"

เราเห็นคนหมดไฟ…แต่ไม่ได้ฟังว่าทำไม

เบื้องหลังของคำว่า “Burn out”อาจไม่ใช่แค่เรื่องงานเยอะหรือขาดสมดุลแต่อาจเป็นเพราะเขาต้อง

  • กู้เงินเงียบ ๆ เพื่อพยุงครอบครัว

  • ขายของออนไลน์ตอนเลิกงาน

  • รับงานเสริมหลายที่ เพื่อให้พอใช้หนี้

และตื่นมาเข้าออฟฟิศเหมือนเดิม ทุกเช้า


ลองฟังเสียงเหล่านี้จากทีม

“ผมไม่กล้าปฏิเสธโอทีเลย เหนื่อย ก็ยังดีกว่ากลับบ้านแล้วไม่ได้เงิน” “เดือนนี้ค่าไฟขึ้นอีกแล้ว ผมกะจะไม่กินข้าวเที่ยงบางวันแทน” “ผมอยากลาไปดูแลพ่อที่ป่วย…แต่ถ้าลาไม่รับค่าจ้าง ผมจะไม่มีเงินจ่ายค่างวดรถ”

คำพูดแบบนี้สะท้อนว่าเขาไม่ได้แค่ ‘ทำงาน’แต่เขากำลัง ‘เอาตัวรอด’ ทุกวันแม้จะไม่พูดตรง ๆ


แล้วองค์กรของเราล่ะ...อยากช่วยไหม?

บทความนี้ไม่ได้มีคำตอบสำเร็จรูปแต่ขอฝากคำถามไว้ว่า:

❝ ถ้าเงินคือภาษาหนึ่งของความรู้สึกองค์กรของเราฟังภาษานั้นได้มากแค่ไหน? ❞

เพราะเราเชื่อว่า…สุขภาพการเงิน ก็คือสุขภาพขององค์กร

noburo ชวนคุณมาเริ่มดูแลพนักงานให้ลึกกว่าแค่ร่างกายด้วย “ความรู้คู่ทุน” และสวัสดิการที่เปลี่ยนชีวิตทางการเงินได้จริง 💙 พร้อมแล้วหรือยัง ที่จะเป็นองค์กรที่ฟัง ‘ภาษาของเงิน’ ได้อย่างเข้าใจ?

อ่านบทความถัดไปได้ที่นี่ https://www.noburo.co/post/noburowealthbeingprofile2

留言


bottom of page